วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นกแก้วหัวแพร

สำหรับนกแก้วสายพันธุ์นี้ นิยมเรียกกันว่า “นกแก้วหัวแพร” พบอยู่บริเวณเชิงเทือกเขาหิมาลัย ภาคใต้ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย แต่สำหรับประเทศไทย สามารถพบนกแก้วหัวเพชรนี้ได้เกือบทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้

นกแก้วหัวแพร เป็นนกแก้วขนาดกลาง คือจะมีความยาวลำตัวประมาณ 33 เซนติเมตร ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างนกแก้วหัวแพรตัวผู้กับนกแก้วหัวแพรตัวเมียก็คือ นกตัวผู้บนหัวจะมีสีม่วง และมีแถบสีดำบริเวณรอบคอ ส่วนตัวเมียบนหัวมีสีเทาปนม่วง แต่จะไม่มีแถบสีดำรอบคอ ลักษณะที่เหมือนกันของนกทั้งสองคือ ลำตัวทั่วไปจะมีสีเขียว ด้านล่างมีสีเหลืองอมเขียว ใบหน้าและส่วนหัวจะมีสีชมพูสด ปีกจะมีแถบสีแดง นกแก้วชนิดนี้มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ส่งเสียงร้องดังมาก ชอบกินผลไม้ เมล็ดพืช และยอดไม้เป็นอาหาร
ฤดูการผสมพันธุเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมวางไข่ไว้บนต้นไม้ธรรมชาติ วางไข่รอบล่ะ4-6 ฟอง ไข่ค่อยข้างกลมและไม่มีสีลวดลาย ใช้เวลาฝัก 16-17 วัน หลังจากนั้นลูกจะเริ่มโต 3-4สัปดาก็ปล่อยลูกทิ้งไว้ที่รังได้เลยปล่อยให้ใช้ชีวิตด้วยตัวเอง

นกกะลิง

นกกะลิง
 จัดว่าเป็นนกแก้วอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ส่วนใหญ่แล้วมักพบในทวีปเอเชียแถบแคว้นอัสสัม ปากีสถาน เวียดนาม ลาว จีนตอนใต้ และในประเทศไทย(ส่วนใหญ่พบทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ)
นกกะลิง เป็นนกแก้วที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 41 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคือ ตัวเมียจะไม่มีแถบสีแดงบริเวณไหล่เหมือนตัวผู้ ส่วนลักษณะที่เหมือนกันของนกกะลิงไม่ว่าจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียนั่นก็คือ หัวของนกจะมีสีเทา ปากจะมีสีส้ม บริเวณรอบคอจะมีสีดำ ขนตามลำตัวส่วนใหญ่มีสีเขียวไพล หางคู่กลางยาวเป็นสีฟ้าอมม่วง ตรงปลายหางจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขนปลายปีกจะมีสีดำ ขาและนิ้วจะมีสีเขียว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทั้งที่ราบลุ่มและที่เป็นภูเขา มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆประมาณ 8 - 10 ตัว หากินเมล็ดพืช ยอดไม้ และผลไม้เป็นอาหาร
ปัจจุบันนนกกะลิง เป็นนกที่พบได้น้อยมากครับ คือจะพบเห็นได้ในบางช่วงเวลาเฉพาะทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกตอนเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น เจ้าตัวจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้ป้ายอาญาสิทธิ์คุ้มครอง..รอดตัวไปโดยปริยาย
การผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน วางไข่ไว้ในโพรงรังไม้ธรรมชาติหรือโพรง
รังที่นกหัวขวานหรือนกโพระดกทิ้งร้างไปแล้ว โพรงรังอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ ๖ – ๑๘ เมตร
ต้นไม้บางต้นอาจมีโพรงรังของนกกะลิงอยู่ถึง ๒ คู่หรือมากกว่าจนดูเหมือนอาคารชุด วางไข่
ครอกละ ๓ – ๕ ฟอง เปลือกไข่สีขาวเป็นมัน ไข่มีลักษณะเกือบกลม ไข่มีขนาดเฉลี่ย ๒๗.๑ x
๒๑.๕ ม.ม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมีย ใช้เวลาฟัก
ไข่ ๑๘ – ๒o วัน ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมล าตัว พ่อแม่ต้องกกและเลี้ยงดู

ลูกนกจนกว่าจะแข็งแรงและบินได้ดี เป็นเวลาประมาณ ๓ – ๔ สัปดาห์ จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรัง

นกหกใหญ่หรือนกแก้วฟ้า



เป็นพวกนกเเก้วพางสั้นขนาด 19 ซม. ความยามจากหัวถึงหางรูปร่างคล้าย อเมซอล อีกหนึ่งชนิดของประเทศไทยจัดเป้นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญยัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 
เพศผู้
เพศเมีย
ลำตัวอวบอัด คอสั้น หัวค่อนข้างโต ปากใหญ่หนา สันปากบนงองุ้มตั้งแต่โคนปากจนถึง
ปลายปาก ปลายปากบนคลุมปลายปากล่างไว้ ขอบล่างของปากบนมีหยัก ใช้ส าหรับกะเทาเมล็ด
เปลือกเมล็ดพืช ปากบนเคลื่อนไหวได้โดยอิสระจึงใช้ปากเกาะยึดเกาะกิ่งไม้ได้อย่างกับเท้า ลิ้น
สั้นเป็นก้อนเนื้อหนา รอบรูจมูกเป็นแผ่นหนังเปลือยเปล่านิ่ม ปีกกว้างและปลายปีกแหลม ขน
ปลายปีกมี ๑o เส้น หางสั้นมากและปลายหางมน เนื่องจากหางสั้นมากในบางครั้งจึงถูกขนคลุม
บนโคนหางปิดทับจนมองไม่เห็น ขนหางมี ๑๒ เส้น ขาท่อนล่างสั้น นิ้วเท้ามีข้างละ ๔ นิ้ว ยื่น
การผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูหนาว ต่อ ฤดูร้อน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน ท า
รังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ หรือ ที่นกหัวขวาน หรือ นกโพระดก เจาะหากิน หรือ
เป็นโพรงร้าง มันอาจใช้ปากตกแต่งปากโพรงเล็กน้อยให้เหมาะกับล าตัว โพรงสูงจากพื้น
ราว ๓o เมตร หรือ มากกว่านี้ วางไข่ครอกละ ๓ – ๔ ฟอง เปลือกไข่รูปร่างค่อนข้างกลม สี
ขาว ไม่มีลวดลายใดๆ ขนาดเฉลี่ย ๑๖ X ๑๙ มม. นกทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยง
ลูก ใช้เวลาฟักราว ๓ – ๔ สัปดาห์ ลูกนกแรกเกิดยังไม่มีขนปกคลุมและยังไม่ลืมตา พ่อแม่
ต้องเลี้ยงอยู่ราว ๑๖ – ๑๗ วัน จึงจะเริ่มหัด บิน และ ทิ้งโพรงรังไป

นกแก้วแขกเต้า

เป็นนกแก้วชนิดหนึ่งที่ไม่สวยเท่าไหร่สีสรรไม่จัดจ้านเสียงดังนิสัยดุร้ายเมื่อพร้อมสืบพันธ์และ ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นเฉพาะภาคใต้เท่านั้นที่ไม่พบ
ลักษณะ
นกชนิดนี้มีลำตัวขนาด 35 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใสตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จะงอยปากบนสีแดงสด จะงอยปากล่างสีดำ ส่วนตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ำเงินแกมเทาจะงอยปากบนสีดำสนิท

นกแขกเต้าพบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมากอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลอาหารของนกแขกเต้าได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ และ น้ำต้อย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หากินอยู่บนต้นไม้นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง มีระยะฟักไข่นาน 28 วัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ผสมพันธ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน นกแขกเต้าที่จับคู่แล้ว จะแยกตัว
ออกจากฝูง หาที่ท ารังในโพรงไม้ที่เจาะขึ้นเองหรือที่สัตว์อื่นท าทิ้งไว้ โดยนกทั้งคู่จะช่วยกันใช้
ปากตกแต่งโพรงและคาบเอาเศษวัสดุต่างๆ ในโพรงทิ้งออกมานอกโพรงจนก้นโพรงสะอาด จะ
ไม่ใช้วัสดุใดๆรองก้นรังเลย ส่วนใหญ่โพรงรังจะสูงจากพื้นดินราว ๓ – ๑o เมตร
นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ ๓ – ๔ ฟอง มีระยะฟักไข่นาน ๒๘ วัน ไข่ มีรูปร่างค่อนข้าง
กลม สีขาว ไม่มีจุด ขีด หรือลาย มีขนาดเฉลี่ย ๒๕ X ๓o มม. วางไข่ครอกหนึ่งราว ๓ – ๔
ฟอง นกทั้งสองเพศ ช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ราว ๑๗ – ๑๙ วัน (บางแหล่งข้อมูลระบุว่า28วัน)


นกแก้วโม่ง

เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป
นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดียอินโดจีน เช่น พม่าหรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน

นกแก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว
อาหารของนกแก้วโม่งในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ, ผลไม้หลากชนิด, ใบไม้อ่อน ฯลฯ
นกแก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทาง
ภูมิศาสตร์ แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน โดยในระหว่าง
ฤดูผสมนี้เพศเมียจะค่อนข้างแสดงอาการดุ และก้าวร้าวมากขึ้น นก แก้วโม่งวางไข่ปีละครั้ง
ครั้งละ ๒ – ๔ ฟอง


วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นกหกเล็กปากดำ


                    นกหกเล็กปากดำ
ลักษณะทั่วไป
นกหกเล็กปากดำตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน ตัวผู้มีสีขนที่ลำตัวด้านบนเป็นสีเขียวสด ด้านล่างมีสีอ่อนกว่าและมีสีเหลืองปน บนกลางหัวมีสีดำแกมน้ำเงิน บริเวณอกมีแถบสีแดง บนหลังมีแถบสีเหลือง ปากสีดำ ตัวเมียมีลักษณะแตกต่างจากตัวผู้คือบนกลางหัวไม่มีสีดำ อกไม่มีแถบสีแดง บนหลังไม่มีสีเหลือง ตัวผู้จึงดูสวยงามกว่าตัวเมีย

        ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปเอเชียแถบสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย และในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น

        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง แหล่งเพาะปลูกตามสวน มักหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ และเกาะอยู่บนต้นไม้ที่ออกดอกออกผล ไม่ค่อยชอบบินแต่มักใช้ปากช่วยจับกิ่งไม้ไต่ไปตามต้นไม้ เวลานอนจะห้อยหัวลงโดยใช้ขาเกาะกับกิ่งไม้
นกหกเล็กปากดำผสมพันธุ์กันในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ทำรังอยู่ตามโพรงไม้ และวางไข่ครั้งละ 3 ฟอง
      สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 

นกหกเล็กปากแดง

                       นกหกเล็กปากแดง
       ลักษณะทั่วไป
นกหกเล็กปากแดงเป็นนกแก้วขนาดเล็กมาก มีขนาดความยาวลำตัวเพียง 14 เซนติเมตร ตัวสีเขียวสด ด้านใต้ท้องสีเขียวอมเหลือง หัวสีสดกว่าลำตัว ปากและหลังส่วนท้ายหรือสะโพกมีสีแดงหรือแสด ตัวผู้มีสีน้ำเงินฟ้าจาง ๆ ที่คอด้านหน้า ส่วนตัวเมียสีเขียวคล้ายตัวผู้ แต่ไม่มีสีฟ้าใต้คางหรือคอด้านหน้า 
      ถิ่นอาศัย, อาหาร
นกหกเล็กปากแดงมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย จีน ตังเกี๋ย ฮ่องกง อันดามันและอินโดเนียเซีย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ในประเทศไทยมีสองชนิด ชนิดปากดำพบเฉพาะภาคใต้จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย ชนิดปากแดงหายาก แต่มีทั่วไปทุกภาคในประเทศไทย ตลอดจนถึงจังหวัด ชุมพร และระนอง รวมทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซีย
นกชนิดนี้กินผลไม้ เมล็ดพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และน้ำหวานจากดอกไม้ เวลากินผลไม้ หรือน้ำหวานจะห้อยหัวลงจิกกิน
        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบห้อยหัวลง แม้แต่เวลานอนก็ห้อยหัวลง ชอบเกาะอยู่ตามต้นไม้ ไม่ค่อยออกบิน พบตามป่าทั่วไป ตามป่าโปร่งบริเวณชายป่า ตามสวนผลไม้ใกล้ ๆ ป่า ชอบอยู่เป็นฝูงตามต้นไม้ ใช้ปากปีนป่าย อยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กๆ ประมาณ 5 - 10 ตัว
นกหกเล็กปากแดงผสมพันธุ์ตั้งแต่หน้าหนาวถึงหน้าร้อน เจาะต้นไม้ผุ ๆ ให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปวางไข่ หรือวางไข่ในโพรงไม้ที่มีอยู่เดิม มักเลือกโพรงไม้ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก วางไข่ครั้งละ 3 - 4 ฟอง
          สถานภาพปัจจุบัน
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
         สถานที่ชม
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว