
ลักษณะทั่วไป
นกหกเล็กปากแดงเป็นนกแก้วขนาดเล็กมาก มีขนาดความยาวลำตัวเพียง 14 เซนติเมตร ตัวสีเขียวสด ด้านใต้ท้องสีเขียวอมเหลือง หัวสีสดกว่าลำตัว ปากและหลังส่วนท้ายหรือสะโพกมีสีแดงหรือแสด ตัวผู้มีสีน้ำเงินฟ้าจาง ๆ ที่คอด้านหน้า ส่วนตัวเมียสีเขียวคล้ายตัวผู้ แต่ไม่มีสีฟ้าใต้คางหรือคอด้านหน้า
ถิ่นอาศัย, อาหาร
นกหกเล็กปากแดงมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย จีน ตังเกี๋ย ฮ่องกง อันดามันและอินโดเนียเซีย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ในประเทศไทยมีสองชนิด ชนิดปากดำพบเฉพาะภาคใต้จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย ชนิดปากแดงหายาก แต่มีทั่วไปทุกภาคในประเทศไทย ตลอดจนถึงจังหวัด ชุมพร และระนอง รวมทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซีย
นกชนิดนี้กินผลไม้ เมล็ดพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และน้ำหวานจากดอกไม้ เวลากินผลไม้ หรือน้ำหวานจะห้อยหัวลงจิกกิน
นกหกเล็กปากแดงมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย จีน ตังเกี๋ย ฮ่องกง อันดามันและอินโดเนียเซีย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ในประเทศไทยมีสองชนิด ชนิดปากดำพบเฉพาะภาคใต้จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย ชนิดปากแดงหายาก แต่มีทั่วไปทุกภาคในประเทศไทย ตลอดจนถึงจังหวัด ชุมพร และระนอง รวมทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซีย
นกชนิดนี้กินผลไม้ เมล็ดพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และน้ำหวานจากดอกไม้ เวลากินผลไม้ หรือน้ำหวานจะห้อยหัวลงจิกกิน
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบห้อยหัวลง แม้แต่เวลานอนก็ห้อยหัวลง ชอบเกาะอยู่ตามต้นไม้ ไม่ค่อยออกบิน พบตามป่าทั่วไป ตามป่าโปร่งบริเวณชายป่า ตามสวนผลไม้ใกล้ ๆ ป่า ชอบอยู่เป็นฝูงตามต้นไม้ ใช้ปากปีนป่าย อยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กๆ ประมาณ 5 - 10 ตัว
นกหกเล็กปากแดงผสมพันธุ์ตั้งแต่หน้าหนาวถึงหน้าร้อน เจาะต้นไม้ผุ ๆ ให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปวางไข่ หรือวางไข่ในโพรงไม้ที่มีอยู่เดิม มักเลือกโพรงไม้ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก วางไข่ครั้งละ 3 - 4 ฟอง
ชอบห้อยหัวลง แม้แต่เวลานอนก็ห้อยหัวลง ชอบเกาะอยู่ตามต้นไม้ ไม่ค่อยออกบิน พบตามป่าทั่วไป ตามป่าโปร่งบริเวณชายป่า ตามสวนผลไม้ใกล้ ๆ ป่า ชอบอยู่เป็นฝูงตามต้นไม้ ใช้ปากปีนป่าย อยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กๆ ประมาณ 5 - 10 ตัว
นกหกเล็กปากแดงผสมพันธุ์ตั้งแต่หน้าหนาวถึงหน้าร้อน เจาะต้นไม้ผุ ๆ ให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปวางไข่ หรือวางไข่ในโพรงไม้ที่มีอยู่เดิม มักเลือกโพรงไม้ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก วางไข่ครั้งละ 3 - 4 ฟอง
สถานภาพปัจจุบัน
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น